เทคนิคเลือกฟิล์มอาคาร (Building Film)

ฟิล์มอาคาร

ฟิล์มอาคาร ฟิล์มบ้าน (Building Film) เลือกแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน โดยมากการเลือกติดฟิล์มกรองแสง ต้องการที่จะช่วยให้ประหยัดค่าไฟให้บ้านเย็น ลดพลังงาน และต้องการความเป็นส่วนตัวในบางพื้นที่ เช่น ห้องนอน ห้องน้ำ ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลไหน การเลือกติดฟิล์มจำเป็นต้องรู้จักประเภทของฟิล์มต่างๆ เสียก่อน เพื่อที่จะอธิบายร้าน ผู้จัดจำหน่ายว่า เราต้องการรูปแบบไหน ในเบื้องต้น และเมื่อเขาแนะนำมา เราจะได้รู้ทันว่าแบบนั้นเหมาะกับเราจริงๆ คุณภาพดี เหมาะสมกับราคา 

ประเภทของฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มกรองแสง (Window Film หรือ Window Tint) แผ่นพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นสูง ทนความร้อน สะท้อนแดด ใช้สำหรับติดกับกระจกช่วงกรองแสง พรางสายตาและอื่นๆ ตาม ชนิดของฟิล์ม

แบ่งตามเทคนิคของฟิล์ม

  1. Deep Dyeing Film ฟิล์มกรองแสงที่ใช้เทคนิคการฝังสีด้วยไอร้อน มีความทนทาน แต่ด้วยเทคนิคนี้จะทำให้ทัศนียภาพลดลง จนออกมองไม่เห็นชัดเจน เหมาะสำหรับพื้นที่ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูงทั้งเวลากลางวันและกลางคืน
  2. Color Coating Film ฟิล์มกรองแสงที่ใช้เทคนิคการฉาบวัสดุป้องกันความร้อน แต่อย่างไรก็ตามก็ไม่อาจช่วยกันความร้อนได้ดีเท่าที่ควร และยังบดบังทัศนียภาพ มืดทั้งเวลากลางวันและกลางคืน อายุการใช้งานน้อย โดยมากจะเป็นฟิล์มที่มีราคาค่อนข้างถูกกว่าท้องตลาดและอาจไม่ได้มาตรฐานเท่าที่ควร
  3. Thermal Evaporation Film ฟิล์มกรองแสงที่ผ่านกรรมวิธีในการผสมสารกันร้อน มีคุณสมบัติในการกันความร้อนได้ดี
  4. Magnetron Sputtering Coating ฟิล์มกรองแสงที่ผ่านกรรมวิธีประจุอิเล็กตรอนทำให้สารแตกตัวเป็นขนาดเล็กมากๆ เคลือบบนเนื้อฟิล์ม ทำให้ป้องกันความร้อนได้สูง มีคุณสมบัติตามต้องการ มีความทนทาน และยังคุ้มค่าต่อค่าใช้จ่าย

แบ่งตามสารเคลือบประกอบฟิล์ม

  1. เคลือบโลหะ (Metalized Film) ฟิล์มที่เคลือบโลหะบนเนื้อฟิล์ม มีคุณสมบัติในการสะท้อนรังสี ความร้อนได้เป็นอย่างดี ข้อเสียอาจสะท้อนแสงรบกวนผู้อื่นได้ง่าย 
  2. ฟิล์มเซรามิค (Ceramic Film) ฟิล์มกรองแสงที่สามารถกรองแสงได้หลายความถี่ ทั้ง รังสี UV แสงแดดและความร้อน 
  3. ฟิล์มนาโน (Nano Film) ฟิล์มอานุภาพขนาดเล็กบนเนื้ฟิล์ม กรองแสงได้เป็นอย่างดี ได้ความโปร่งใส มองเห็นภายนอกได้อย่างชัดเจน และยังป้องกันความร้อน รังสีได้ดีเช่นกัน

เปรียบเทียบความแตกต่างของฟิล์มแต่ละชนิด

ฟิล์มกรองแสงทั่วไปฟิล์มปรอทฟิล์มเซรามิค
กันความร้อนได้น้อย อายุการใช้งานสั้นกันความร้อนได้ปานกลาง ค่อนข้างมืดกันความร้อนได้ดี ภาพชัดเคลียร์ใสทนทาน กักเก็บอุณหภูมิภายในได้ดี
อายุการใช้งาน 1-3 ปีอายุการใช้งาน 5-6 ปีอายุการใช้งาน 8-15 ปี

นอกจากประเภทของฟิล์มแล้ว ยังต้องคำนึงถึงทิศของอาคาร บ้าน ว่าหันไปทางทิศไหน เช่น หันไปทางทิศใต้หรือทิศตะวันตก แบบนี้อาคาร บ้านจะโดนแสงแดดโดยตรงก็ควรเลือกฟิล์มกรองแสงที่มีคุณภาพในการกันรังสีความร้อนสูง ระดับความเข้มของฟิล์ม ยิ่งฟิล์มกรองแสงมีระดับความเข้มมากก็ยิ่งลดแสงได้มาก และมีความเป็นส่วนตัวสูง ฟิล์มกรองแสงอาคารที่นิยมเลือกใช้

  • ฟิล์มดำ VLT 40% เหมาะกับอาคาร บ้าน ที่ต้องการลดความร้อนและป้องกันรังสียูวี ไม่ต้องการแสงสว่างมาก 
  • ฟิล์มเซรามิค VLT 60%  เหมาะกับอาคารที่ต้องการลดความร้อนและป้องกันรังสียูวีได้ดี และยังให้ทัศนวิสัยที่ดีกว่าฟิล์มดำ 
  • ฟิล์มนาโน VLT 80%  เหมาะกับอาคารที่ต้องการลดความร้อนและป้องกันรังสียูวีได้ดีและให้ทัศนวิสัยที่ดีกว่าฟิล์มเซรามิค 

นอกจากนี้ยังจำเป็นต้องคำนวนงบประมาณที่มีด้วยเช่นกัน หากต้องการเลือกฟิล์มกรองแสงติดอาคารที่เหมาะสม ปรึกษาเราเพื่อรับคำแนะนำและคำปรึกษาอย่างเหมาะสมที่ตรงกับความต้องการและงบประมาณที่มี 

Similar Posts